top of page
LINE_ALBUM_230519_3.jpg

Static Load Test

        การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็มแบบสถิตยศาสตร์ มี 2 วิธี

1. Static load Test แบบเสาเข็มสมอ คือ การทดสอบเสาเข็มที่ตอกเสาเข็มเป็นสมอยึดคานรับแม่แรง (Hydroulic Jack) โดยอาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวต้านแรงถอนตัวจากแรงที่กดลงเสาเข็มทดสอบ การตอกเข็มสมอลงบนดินควรตอกในชั้นดินเหนียวเนื่องจากจะมีความฝืดมากกว่าดินประเภทอื่น ๆ

2. Static load Test แบบวัสดุถ่วง คือ การทดสอบของระบบจะใช้ในกรณีที่เสาเข็มเสมอใช้การไม่ได้เนื่องจากชั้นดินที่ทำการตอกเข็มสมอมีแรงฝืดไม่เพียงพอที่จะรับแรงถอนของแม่แรง(Hydroulic Jack) ดังนั้นหลักการของ Static load Test แบบวัสดุถ่วง คือวางวัสดุหนักลงบนคานรับน้ำหนักโดยใต้คานนั้นจะมีหมอนรองรับน้ำหนักป้องกันการโยกของคาน จากนั้นก็ติดตั้งแม่แรง (Hydroulic Jack)

 

        การทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีสถิตยศาสตร์นี้ จะมีความแม่นยำสูงเนื่องจากใช้ระยะเวลาการทดสอบมากกว่าการทดสอบวิธีอื่น ๆ การเก็บค่าของการยุบตัวเมื่อเพิ่มหรือลดอย่างละเอียด เช่น การทดสอบเสาเข็มต้นหนึ่งโดยการทดสอบนั้น จะต้องเพิ่มน้ำหนักเป็นขั้น ๆดังนี้ 20% , 50% , 75% และ 100% ในแต่ละขั้นของน้ำหนักที่เพิ่มให้ใช้อัตราการเพิ่มประมาณ 1 มิลลิเมตรต่อนาที อ่านค่าทรุดตัวของเข็มที่ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 90, 120, 180, 240 นาทีและ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ความละเอียดในการอ่านจะต้องมีความละเอียดถึง 0.02 มิลลิเมตร (ส่วนมากนิยมใช้ นาฬิกาวัดการเคลื่อนที่ (Dial gauge) อย่างน้อย 2 ตัวในการอ่านค่า หรือ ใช้กล้องระดับที่สามารถอ่านได้ละเอียด 1.00 มิลลิเมตร) การเพิ่มน้ำหนักแต่ละขั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออัตราการทรุดตัวลดลงถึง 0.30 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ต้องมีเวลาของการบรรทุกน้ำหนักชั้นนั้นๆไม่น้อยกว่า 60 นาที เมื่อเพิ่มน้ำหนักทดสอบถึง 100% จะต้องรักษาน้ำหนักที่บรรทุกไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงจากนั้นก็ลดน้ำหนักทุก ๆ  ชั่วโมง เป็นขั้นๆ ดังนี้ 40% , 25% , 0% โดยบันทึกค่าคืนตัวของเข็มที่เวลา 1, 2, 4, 8, 15, 30, 45, 60 นาที และที่นำหนัก 0% ให้บันทึกต่อไปทุก ๆ ชั่วโมง จนกระทั่งค่าของการคืนตัวคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น

LINE_ALBUM_230519_0.jpg
LINE_ALBUM_230519_2.jpg
bottom of page